เกร็ดความรู้เกี่ยวกับกระต่าย

Last updated: 26 ธ.ค. 2561  |  3175 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับกระต่าย

  1. กระต่ายกินน้ำตายจริงหรือไม่ ? 
         ปกติแล้วกระต่ายเป็นสัตว์ที่มีความต้องการน้ำเช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื้น ๆ ถ้ากระต่ายได้รับ น้ำน้อย จะทำให้เติบโตช้า แต่การที่คนส่วนใหญ่เห็นว่ากระต่ายที่เลี้ยงกันนั้นไม่ได์ไห้น้ำเลยให้แต่ผัก หญ้า ก็ยังเห็นกระต่ายปกติดี เนื่องจากว่าในผักและหญ้านั้นมีน้ำมากเพียงพอที่จะทำให้กระต่าย มีชีวิตอยู่ได้ แต่ถ้าให้น้ำเพิ่มด้วยจะทำให้กระต่ายเติบโตเร็วยิ่งขึ้น การที่กระต่ายกินน้ำแล้วตาย อาจเนื่องมางากภาชนะที่ใส่น้ำเป็นชามที่กระต่ายสามารถทำล้มได้ง่ายทำให้น้ำหกเจิ่งนองพื้น ซึ่งจะทำให้กระต่ายเป็นหวัดหรือปอดบวม และมีโรคอื่น ๆ แทรกช้อนจนทำให้ตายได้

    2. จับท้องกระต่ายจะทำให้กระต่ายตายจริงหรือไม่ ? 
         การจับกระต่ายที่ถูกวิธีและทำด้วยความนุ่มนวลโอกาสที่กระต่ายจะตายนั้นมีน้อยมาก แต่สัญชาติญาณของกระต่ายเมื่อโดนจับบริเวณท้องมันก็จะดิ้น คนที่จับไม่เป็นหรือไม่รู์โดยเฉพาะ เด็ก ๆ เมื้อเห็นมันดิ้นก็จะยิ่งจับหรือบีบให้แน่นยิ่งขื้นเพราะกลัวว่ากระต่ายจะหลุดจากมือ ทำให้อวัยวะภายใน ได้รับอันตรายจนกระทั่งกระต่ายช๊อคตายได้

    3. ทำใมกระต่ายสีขาวจะมีตาสีแดง? 
         การที่กระต่ายจะมีตาสีอะไรขี้นกับเม็ดสี(Pigment) ที่อยู่ในตา แต่ในกระต่ายสีขาวเช่น พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์หรือแคลลิฟอร์เนียน ไม่มีเม็ดสี ทำให้เห็นเส้นเลือดสีแดงในตาซึ่งจะ สะท้อนแสงให้เราเห็นตากระต่ายเป็นสีแดง ส่วนในกระต่ายพันธุ์พื้นเมืองนั้นมีตาสีดำ เนื่องจากมันมีเม็ดสีเป็นสีดำในตานั่นเอง

    4. กระต่ายเป็นสัตว์ทื่จัดอยูในกลุ่มสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับหนูใช่หรือไม่ ? 
         แต่ก่อนนักสัตววิทยาได้จัดให้กระต่ายอยู่ในกลุ่มสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับหนู ต่อมาได้พบว่ากระต่ายกับหนูนั้นมีข้อแตกต่างกันที่กระต่ายมีฟันตัดหน้าบน 4 ชี่ ส่วนหนู มีเพียง 2 ชี่ ทำให้มีการจัดกลุ่มใหม่ โดยให้กระต่ายอยู่ในอันดับกระต่าย (Order Lagomorpha) และหนูจัดอยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Order Rodentia)

    5. ทำไมช่วงที่อากาศร้อนจัด ๆ กระต่ายถถึงช็อคตาย ? 
         เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ ทำให้การระบายความร้อนเป็นไปได้ยาก ในช่วงที่อากาศร้อน ๆ กระต่ายจะหายใจถี่ขึ้น โดยสังเกตุที่จมูกจะสั่นเร็วขึ้น และมีการระบายความร้อนที่เส้นเลือดแดงใหญ่กลางหูมากขึ้น แต่ก็ยังระบายความร้อนไม่ทันทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงมากจนถึงขั้นทำให้ช๊อคตายได้





ขอบคุณความรู้ดีๆจาก เอกสารเผยแพร่ อันดับที่ 23 ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ 
สำนักงานส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 
โดย ชมรมกระต่ายคณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้